“กฎหมายมวย” ยาสามัญประจำคนมวย

คณะกรรมการกีฬามวยอนุมัติ 25 ล้านเศษ เร่งเยียวยานักมวย และผู้ฝึกสอนที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานมวยฯ

                         โปรด! เขย่าขวดก่อนใช้ (ตอนที่ 1)

ช่วงมวยหยุดโควิดรอบ 2 ยาว มีคนโทรหาผมว่า ทนายในฐานะเป็นฝ่ายกฎหมายของสมาคมกีฬามวยอาชีพแห่งประเทศไทย ตอนนี้ไม่มีโปรแกรมการชกและข่าวสารวงการมวย

เลย อยากให้ผมช่วยเขียนเรื่องกฎหมายมวย เพราะคนมวยหลายท่านไม่สามารถหาอ่านได้ และอยากได้ความรู้ ขอให้สรุปผลได้เสียของกฎหมายมวยด้วย ผมเห็นดีงามด้วยจึงจัดให้ทันทีครับ แต่จะเขียนแบบ กฎหมายชาวบ้าน อ่านเข้าใจง่าย ไม่ต้องแปลไทยเป็นไทยอีก

ทำไมต้องมีกฎหมายมวย เหตุใดทำไมต้องมี พ.ร.บ.กีฬามวย ฉบับปี 2542 ต้องย้อนไปถึงก่อนปีประกาศใช้นั้น  ปัญหาเรื่องการว่าจ้างล้มมวย  เป็นปัญหาใหญ่  รองมาเรื่องนักมวยเดินสายชก ไม่พักผ่อนอาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย และพอเริ่มดังก็ย้ายค่ายจากไป และเกิดจากหัวหน้าค่ายที่แบ่งเงินรางวัลค่าตัวนักมวยไม่เป็นธรรม ปัญหาเรื่องการตัดสินของกรรมการค้านสายตา มันเป็นปัญหาที่เกิดกว่า 50 ปีและต้องการคนสะสาง ตอนนั้นการชกมวยอยู่ในความรับผิดชอบของกรมพละศึกษา ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการซึ่งได้ควบคุมโดยร่างระเบียบข้องบังคับ กติกาใช้ แต่ก็ไม่มีบทกฎหมายลงโทษคนว่าจ้างและนักมวยที่ทรยศต่อวิชาชีพล้มมวยได้ ฟ้องศาลไปก็เอาโทษไม่ได้เพราะไม่มีกฎหมายอาญาบัญญัติให้เอาโทษในเรื่องนี้ได้   และเคยมีเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนใช้กำหมายมวย ถึงโรงศาลเป็นคดีเมื่อ เฮียน้อย ลูกพระบาท ซึ่งเสียชีวิตแล้ว นำนักมวยในสังกัดไปชกที่สนามมวยนารายณ์ จังหวัดลพบุรี อยู่ในค่ายทหารมวย วันนั้นมีการเดิมพันด้วย   ปรากฎว่าชกเสร็จกรรมการได้ชูมวยให้ฝ่ายลูกพระบาทชนะ ด้วยคะแนนกรรมการ 2 ต่อ 1 เสียง  แต่มีการประท้วงเกิดขึ้น จนนายสนามประกาศให้เสมอกันไป เฮียน้อยจึงนำเรื่องไปฟ้องที่ศาลจังหวัดลพบุรี  ที่สุดศาลตัดสินว่าในเมื่อเคยมีระเบียบกติกาให้ฝ่ายเสียงข้างมากชนะแล้ว ก็ต้องเป็นไปตามนั้น แต่เงินเดิมพันที่เฮียน้อยขอให้ศาลสั่งให้อีกฝ่ายหนึ่งจ่ายเงินเดิมพันให้นั้น เพราะเป็นหนี้การพนัน มัหาก่อให้เกิดหนี้ไม่ ตามกฎหมายบัญญัติไว้

เมื่อปัญหาของวงการมวยในยุคก่อนรุมเร้า  นายสมชาติ เจริญวัชรวิทย์ นายกสมาคมกีฬามวยอาชีพแห่งประเทศไทย เห็นช่องว่างตรงนี้จึงได้ยกมือประสานสิบทิศทิศ ให้มีการร่าง พ.ร.บ.กีฬามวย เพื่อให้ใช้บังคับ     และสามารถมีบทลงโทษทางอาญาต่อผู้กระทำความผิดได้ จึงได้ผลักดันเสนอให้ ส.ส. ในขณะนั้น     ซึ่งมี ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย    เป็นนายกรัฐมนตรี ตรงนี้ต้องให้เครดิตกับพรรคประชาธิปัตย์ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี รีบนำร่างฉบับนี้เข้าสภา จนในที่สุด       ที่ประชุมรัฐสภาก็ลงมติเอกฉันท์ให้ใช้ พ.ร.บ.กีฬามวย พ.ศ.2542 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2542 รวมปัจจุบันคนมวยอยู่คู่กฎหมายมวยมาแล้ว 22 ปีแล้ว

ด้วยต้องเร่งรีบให้ทันต่อสมัยของรัฐบาลในขณะนั้น ขืนช้าอาจไม่ออกใช้  เมื่อมีรัฐบาลอื่นมาแทน การร่างจึงระดมสมองคนมวยในสมัยนั้นช่วยกันออกแบบ  ซึ่งผมก็เป็นคนหนึ่งที่มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นครั้งนั้นด้วยและเอาเฉพาะประเด็นหลักๆ ที่มีปัญหาร่างขึ้นก่อน จึงทำให้ พ.ร.บ.มวยมีเพียงแค่ 63 มาตราเท่านั้น (ปัจจุบันยกเลิก ม.52   เรื่องกองทุนกีฬามวย เพราะภายหลังมี พ.ร.บ. กองทุนพัฒนากีฬาแห่งชาติแทน)  กฎหมายมวยสั้น ๆ บางเฉียบ คนเห็นบอกว่ามันจะคลอบคลุมทุกเรื่องในการใช้รักษาโรคเรื้อรังของคนมวยได้ไหม ผมว่า พ.ร.บ.มวยฉบับนี้ จิ๋วแต่แจ๋วจริง เพราะตาม ม.9 (5)   ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่   ในการออกข้อบังคับ ระเบียบ หรือประกาศเพื่อปฏิบัติเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้  ซึ่งต่อมาก็มีการออกโดยใช้พระราชกฤษฎีกา 2 ฉบับ กฎกระทรวง 6 ฉบับ ข้อบังคับ 1 ฉบับ  และระเบียบอื่น ๆ อีก 18 ฉบับ รวมแล้ว 25 เรื่อง   ออกมาเพื่อให้บุคคลในวงการมวยปฏิบัติ   เช่น   เรื่องความปลอดภัยนักมวย ให้พักร่างกายหลังชก 21 วัน ถ้าน็อกเขา พัก 14 หรือถูกน็อกพัก 1 เดือน  ระเบียบว่าด้วยการสังกัดค่าย และย้ายค่าย นักมวย ตรงนี้มาดังตอนที่บัวขาว  ย้ายค่ายจาก ป.ประมุข มาใช้สังกัดค่ายนบัญชาเมฆ โดยเจ้าของค่ายกำนันประมุข ไม่ยอม ในที่สุดมันทำไม่ได้ หรือเรื่องการออกระเบียบคุณสมบัติของผู้ตัดสิน   และกติกาสำหรับการแข่งขันกีฬามวย  ปี 2545  มันสามารถออกเป็นระเบียบให้ทันยุคสมัยได้      ถามผมว่าครอบคุลมไหม ผมว่าภาพรวมใช้บังคับได้ทุกอย่าง แต่ก็ติดขัดที่ไม่ได้ถูกนำมาใช้ เปรียบเสมือนยาดี แต่ไม่มีการหยิบมาใช้     หรือเขย่าขวดก่อนใช้  จึงเป็นหมันไป  และสำคัญมีคนอุตริคิดไปนำเสนอให้แก้กฎหมายมวยทั้งฉบับ ดังที่เคยมีตัวอย่าง เช่น ร่างแก้ไข พ.ร.บ. มวย ปี 2561 ฉบับของ สำนักงานกีฬามวย และของ สนช. ปี 2562 ทั้ง 2 ฉบับนี้ดันไปแก้ไขเรื่องมวยเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ชกเด็ดขาด  และให้อายุต่ำกว่า 15 ปี ชกต้องสวมเครื่องป้องกัน    ผมต้องไปต่อสู้รวมคนมวยไปคัดค้านว่าไม่ได้ทำพิจารณ์ ตาม รัฐธรรมนูญ ม.77 จนกระทั่ง ร่างทั้งสองฉบับถูกตีตกไปแล้ว ขอทีเถิดใครที่โลกสวยคิดแก้ ก.ม.มวยทั้งฉบับ ทางออกมันมีอยู่แล้วที่เราเคยปฏิบัติอยู่ คือใช้ พ.ร.บ.มวย   ม.9 (5) แทน

สาระสำคัญของกฎหมายมวยมีอะไรบ้าง       เริ่มตั้งแต่มาตรา 3   ให้ความหมายคำจำกัดความไว้หลายเรื่อง แต่ที่สำคัญก็คือ “บุคคลในวงการมวย” หมายความว่า นักมวย ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน ผู้จัดการนักมวย หัวหน้าค่ายมวย นายสนามมวย ผู้จัดรายการแข่งขันมวย” จะเห็นว่า มีเพียง 7 ประเภท  (เซียนมวย ไม่เกี่ยวข้องด้วย )   ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายมวย มิฉะนั้นจะถูกลงโทษ และตาม ม.12 มีสิทธิได้รับทุนสวัสดิการ คือ นักมวย ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน หัวหน้าค่ายมวย 4 ประเภท อันเป็นเงิน.ที่ให้เมื่อประสบอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยอันเกิดจากการแข่งขัน หรือเงินสงเคราะห์ อื่นๆ ตรงนี้ที่เขาได้รับเงินไป 17.5  ล้าน จ่ายเป็นสงเคราะห์ให้แล้วเพราะโควิดพ่นพิษ  โอยอนุมัติจากบอร์ดมวย  ทั้งนี้  ม.3  ยังให้ความหมายถึง “นายทะเบียน”  ทว่าจะต้องดูแล พ.ร.บ.มวยนี้ คือ ผู้อำนวยการสำนักงานกีฬามวย หรือที่ ผ.อ.มวยมอบหมาย ตรงนี้ให้ดาบถือไว้แล้วครับ จาก     “คณะกรรมการกีฬามวย” (บอร์ดมวย) ตาม ม.5 ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธาน โดยมีกรรมการอื่นจากผู้แทนหน่วยงานต่างๆ อีก 8 คน รวมทั้ง นายกสมาคมกีฬามวยอาชีพแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการโดยตำแหน่งอีกด้วย และบอร์ดมวยแต่งตั้งผู้ทรงวุฒิได้อีก 7 คน อยู่ได้ 2 ปีพร้อมกับให้ ผอ.มวยเป็นเลขา สิริรวมทั้งหมดมีทั้งสิ้น 17 คน โดยปกติก็จะประชุมกัน  3 เดือนต่อครั้ง

ตอนนี้มีคนพยายามแก้ให้ตำแหน่งนายกสมาคมกีฬามวยอาชีพ ออกจาก

กรรมการบอร์ดมวยตาม พ.ร.บ. ออก แล้วให้ไปถูกเลือกในฐานะ ผู้ทรงคุณวุฒิ แทน คิดได้ยังไง

สำหรับเสนอร่างกฎหมายมวยด้วยมือ    ต่อสู้เพื่อคนมวยมากว่า 40 ปีแล้ว เข้าทางสุภาษิต “เสร็จนาฆ่าโคถึง เสร็จศึกฆ่าขุนพล”

บอร์ดมวย  มีหน้าที่ควบคุม    และเพื่อกำหนดในการประชุมให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายมวยนี้  แต่สำหรับหน่วยงานและผู้ดูแลนั้น   ม.17     ให้จัดตั้งหน่วยงานขึ้นเรียกว่า   “สำนักงานคณะกรรมการกีฬามวย (สคม.)  ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของการกีฬาแห่งประเทศไทย    (กกท.)  ทั้งนี้ให้ผู้ว่า กกท. แต่งตั้งพนักงานของตน   ระดับไม่ต่ำกว่า  ผู้อำนวยการกอง ถ้าทางระดับคือ ซี 8 เพื่อเป็นผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกีฬามวย โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมบอร์ดมวยก่อน ตาม ม.18 ผอ.มวยต้องมีดีกรี ข้าราชการ ระดับ ซี 8 ตอนที่ ผอ.ประเสริฐ ตันมี เกษียนราชการ ก็มีคุณปรเมษฐ์ ภักดีคิรีไพวัลย์    ผอ.มวยคนปัจจุบัน ในขณะนั้นเป็นแค่รอง ผอ. ซึ่งมีระดับแค่ ซี 7  เป็นผอ.ไม่ได้   ก็มีการขัดตาทัพ โยกย้ายนายวิบูณ จำปาเงิน จากตำแหน่งผู้อำนวยการกองส่งเสริมพัฒนากีฬาอาชีพ (ซี 8) มาเป็นผอ.มวยแทน ผอ.ประเสริฐ ฯ แล้วให้ ผอ. ปรเมษฐ์ ไปแทน ผอ.วิบูณ เพื่อรับตำแหน่ง ซี 8   แต่โชคร้ายมาตกกับ ผอ.วิบูณ ที่เผชิญ วิกฤต ช่วงโควิด โดยเฉพาะเคสของสนามมวยลุมพินีที่ถูกทัวร์ลงว่าเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคโควิดรอบแรก  งานเลยเข้า กว่าจะฝ่าฟันฝ่าอุปสรรคนี้ไป รอถึงวันที่ 1 ต.ค. 63 จึงมีการโยกให้ ผอ.ปรเมษฐ์  ซึ่งมีคุณสมบัติครบมาเป็น ผอ.มวยคนใหม่แทน ส่วน ผอ.วิบูณ ก็ไปรับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล คือย้ายจากผู้อำนวยการระดับกอง (ซี8) มาเป็นระดับฝ่าย (ซี9) สูงกว่าเดิม งานนี้  แฮปปี้ เอ็นดิ้ง  ถ้วนทั่วหน้ากัน

ที่ต้องกล่าวถึงความสำคัญของ ผอ.มวย ตรงนี้ เพราะตำแหน่งนี่แหละจะเป็นผู้ทำหน้าที่รักษาความศักดิ์สิทธ์ของ กฎหมายมวย ให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างไร จึงเป็นที่มาของผมว่า  โปรด ! เขย่าขวดก่อนใช้ …                 (ติดตามตอนต่อไป)